Turkey ทริปนี้ที่ฝันไว้ ตอนที่ 0.1: เตรียมตัวท่องแดนไกล 1/2

DSC06104

DSC04379

DSC04772

DSC05053

DSC05240

DSC02682

DSC05997

DSC03830

ตุรกี ดินแดนที่สองทวีปมาบรรจบกัน เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีต ลึกลับ น่าค้นหา สิ่งก่อสร้างตระการตาจากน้ำมือมนุษย์นับย้อนได้เป็นพันปี รวมไปถึงวิวทิวทัศน์งดงามจากพลังธรรมชาติ เรียกได้ว่ามีครบทุกรสชาติเลยจริงๆ

รีวิวนี้ บอกได้เลยว่าละเอียดมากกกก ข้อมูลแน่นปึ๊ก ชนิดอ่านให้สลบกันไปข้างหนึ่ง เป็นรีวิวที่ฉันตั้งใจทำจริงๆ

1) ตั๋วเครื่องบิน…จุดเริ่มต้นของทริปนี้

จริงๆแล้ว เพิ่งจะเคยมาได้ยินชื่อประเทศนี้ตอนจบเข้าทำงาน ซึ่งก็คือ 2 ปีที่ผ่านมา หลักๆก็มาจากพี่และเพื่อนที่ทำงาน เห็นรูปแว๊บๆตาม facebook ของแต่ละคนบ้าง แต่ตอนนั้น ว่าก็ว่าเถอะ ด้วยงบ  ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด ได้ออกไปเที่ยวในประเทศใกล้ๆก็พอใจแล้ว ยังจำได้ว่า ทริปต่างประเทศด้วยตัวเองทริปแรก ยังเถียงกับคุณสำลี (เพื่อนร่วมทริปขาประจำ) อยู่เลยว่า  ฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ดี (สรุปว่าไปฮ่องกงทริปแรก ส่วนสิงคโปร์ก็มาอยู่มันซะเลย หมั่นไส้ 555 เลยมีรีวิวทั้งสองประเทศ สนใจคุ้ยๆหาได้ในบล็อคค่ะ)

สำหรับตุรกี มาสนใจจริงๆจังตอนที่ได้ผ่านทริปฮ่องกงมาแล้ว รู้ว่าสนุก ตื่นเต้น ประทับใจขนาดไหน ประกอบกับมีพี่ที่ทำงานที่ค่อนข้างสนิทไปพอดี แล้วเห็นบอลลูน ชะงักเลย อ๊ากกก ร่ำร้องกับคุณสำลีว่าอยากไป แล้วถล่มส่งรูปไปให้นางดู เลยวางแผนกันไว้ว่า ยี่สิบปลายๆเจอกันแน่นอน

จากที่แพลนไว้ว่า ปีนี้อยากจะไปญี่ปุ่น เพราะคุณสำลีไม่เคยไป ประกอบกับพอเปลี่ยนกฎว่าไม่ต้องขอ VISA คนไทยเลยแห่ไปกันเกือบทั้งประเทศ ดูง่ายมากถ้าจะไปเอง ข้อมูลมีอยู่ตรึม หนังสือ คนให้ถาม มีเยอะมาก แต่แล้ว โชคชะตาฟ้าลิขิตให้ Qatar Airways ออกโปรตั๋วเครื่องบินจากไทย – ตุรกี พอดี (ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าจากเท่าไหร่ แต่รู้ว่ามันลดก็ตื่นเต้นแล้ว) ลองไปเช็คไฟลท์จากสิงคโปร์ไปตุรกี ก็มีเวลาตรงกันแบบเป๊ะๆ คือมาถึงที่ Doha ซึ่งเป็นสถานที่เปลี่ยนเครื่องพร้อมกันแบบพอดิบพอดี นั่งมองหน้ากัน (ในสไกป์) แล้วก็กดจองมันเลย เนื่องจากจองล่วงหน้า 6 เดือน เลยได้ราคามาแบบสวยๆ ไทย – ตุรกี 23,000 บาท (ตั๋วลด) สิงคโปร์ – ตุรกี 22,000 ่บาท (เงิบนิดนึง ตั๋วไม่ลดดันถูกกว่า แถมบินไปไกลกว่าอีก เพื่อนบอกมาว่าเพราะสิงคโปร์เป็น hub ของ Qatar Airways)
*สำหรับคนไทย ไปตุรกีไม่ต้องขอ VISA ค่ะ

ticket  boy-horz

ปรากฎว่าไปเช็คกับราคาดูภายหลัง พบว่าได้ตั๋วมาในราคาที่ถูกแล้ว (ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงที่ไปมัน Low Season) อิอิอิอิ ในรีวิวต่างๆ ตั๋วลดจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 28,000 บาท ส่วนราคาเฉลี่ยตั๋วเครื่องบินของแต่ละสายการบินก็ราคาแพงโขอยู่

Ticket

Source: หนังสือ “ได้เวลาเที่ยวตุรกี”

อีกเรื่องหนึ่งที่ควรรู้คือ Istanbul มี 2 สนามบิน (คล้ายๆกับของเราที่มีสุวรรณภูมิกับดอนเมือง) นั่นก็คือ 1) Istanbul Ataturk Airport ซึ่งจะอยู่ฝั่งยุโรป (ทางซ้ายมือ) จะคล้ายสนามบินสุวรรณภูมิบ้านเราที่จะเน้นไปทางไฟลท์ต่างประเทศมากกว่า และ 2) Sabiha Gokcen International Airport อยู่ฝั่งเอเชีย (ทางขวามือ) คล้ายสนามบินดอนเมืองที่เน้นไฟลท์ภายในประเทศ ประกอบกับเนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ฝั่งยุโรป ราวๆในเขตวงกลม ดังนั้นพยายามหาไฟลท์ที่มาลงที่ Ataturk จะดีกว่า ของพวกเราขากลับกลับ Sabiha เนื่องจากเวลาลงตัวที่สุด

Capture

สายการบินที่เป็น full-service แบบนี้ จะมีน้ำหนักกระเป๋าให้ และสามารถเลือกที่นั่งได้ฟรี อย่าลืมเข้าไปเลือกที่นั่งล่วงหน้าในเว็บไซต์ของสายการบิน หากใครมีข้อจำกัดในด้านอาหารเช่นแพ้อาหารประเภทไหน หรือกินมังสวิรัต ก็สามารถเข้าไปเลือกได้ แนะนำว่าถ้าบินระยะทางไกลๆ ใช้เวลาหลายๆชั่วโมง ควรจะนั่งข้างทางเดินจะได้ลุกไปเข้าห้องน้ำได้สะดวก ฉันลองทั้ง 2 แบบ ขาไปนั่งข้างทางเดิน ขากลับนั่งข้างหน้าต่าง จะบอกว่าวิวข้างหน้าต่างมันแป๊บเดียวจริงๆไม่ต้องเสียดาย หลังจากนั้นปวดห้องน้ำทีแทบจะกายกรรมออกไปเข้าห้องน้ำ ให้อั้นก็ไม่ไหวเพราะเจ็บคอสุดชีวิตเลยต้องดื่มน้ำเยอะ ชีวิตรันทดยิ่งนัก

2) สภาพอากาศ…ดูสักนิดก่อนคลิ๊กจอง

เนื่องจากวันหยุดราชการที่สิงคโปร์มีน้อยมากถึงมากที่สุด (ปีละ 9 วัน) แล้วช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะมี Chinese New Year ที่เป็นวันหยุดแบบ 2 วันติด เลยตัดสินในว่าไปมันช่วงนี้ล่ะ ลืมคิดถึงสภาพอากาศไปอย่างสินเชิง กะว่าอากาศกำลังสบายๆเหมือนตอนไปฮ่องกงแน่ๆ วันรุ่งขึ้นถึงเริ่มหาข้อมูลสภาพอากาศถึงกับช็อคไปแป๊บนึง ตามที่โชว์ในตารางข้างล่างเลยค่ะ เป็นอุณหภูมิระหว่างปี 2011 – 2012 เอามาแต่เมืองที่กำลังจะไป อุณหภูมิต่ำสุดที่กำลังจะเผชิญแบบไม่รวมลมอะไรทั้งสิ้น -7 องศาเซลเซียส ใครก็ได้บอกฉันทีว่ามันไม่จริง หนาวสุดที่เคยเผชิญมาประมาณ 4 องศาบนดอยอินทนนท์ แค่นั้นก็แทบตายแล้ว ยังจำความรู้สึกตอนที่อยู่บน The Peak ที่ฮ่องกงได้ ตอนนั้นประมาณ 10-15 องศามั้ง ประมาณว่า โคตรหนาว ไม่ไหวแล้ว

temp2

Source: http://www.worldweatheronline.com/

มาดูฟ้าฝนกันบ้าง กราฟข้างล่างแสดงจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยในแต่ละเดือน (เฉพาะแค่ของ Istanbul) กุมภาพันธ์ก็อยู่ในกลุ่มนำโด่ง ฝนตกเยอะสุดกับเค้าเหมือนกัน 12 วันใน 28 วัน จะเยอะไปหน๋ายยยย

ยัง ยังไม่หมดแค่นั้น กลางวันยังสั้นนัก พอดูเปรียบเทียบกับเดือนอื่นๆแบบนี้แทบร้องไห้

Source: http://www.holiday-weather.com/

Source: http://www.holiday-weather.com/

ดังนั้นเค้าถึงเรียกฤดูหนาวของที่นี่ว่า Low Season แต่ถ้าคิดในแง่ดี ไปเดือนนี้คนก็จะน้อย ไม่ต้องแย่งกันกินแย่งกันใช้มากนักกับจ่ายค่าโรงแรมค่อนข้างถูก (ไม่รู้จริงป่าว แต่ถ้าเทียบกับโรงแรมในสิงคโปร์นี่ถูกจริง กร๊าก) แถมการันตีว่าได้เจอหิมะแน่ๆ

สำหรับว่าจะเที่ยวช่วงไหนดี คงต้องถามว่าจะไปที่ไหนบ้าง เพราะตุรกีนั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก  สภาพอากาศหลากหลาย ตั้งแต่เมืองชายทะเลไปจนถึงเมืองหุบเขา ถ้าไปเมืองชายทะเลก็คงต้องหน้าร้อน (กลางมิถุนา – กันยา) แต่สำหรับเมืองหลักๆอย่าง Istanbul และเมืองที่อยู่ในตอนกลางบริเวณ Cappadocia High Season จะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เมษา – กลางมิถุนา) และฤดูใบไม้ร่วง (กลางกันยา – ตุลา) เพื่อนๆอย่าลืมพิจารณาปัจจัยนี้กันให้ดี

3) แผนการท่องเที่ยว…is the must

ตุรกีเป็นประเทศที่กว้างมาก สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละที่ก็ไม่ได้อยู่ชิดติดกันเสมอไป (นอกจากอยากจะไปเที่ยวชมแค่ Istanbul) ปกติแล้วคนไทยส่วนใหญ่มักจะไปกับทัวร์เพราะการเดินทางจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมือง หรือสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งสู่อีกที่ ไม่ได้สะดวกง่ายดายนัก ต้องนั่ง Overnight bus หรือขึ้นเครื่องบิน แต่สิ่งที่ฉันชอบที่สุดในการท่องเที่ยวคือความรู้สึกเหมือนได้ผจญภัย งงเมื่อหลง ดีใจเมื่อหาเจอ ตื่นเต้นและท้าทายเมื่อได้เจอสิ่งใหม่ๆ บางทีอยากใช้เวลาถ่ายรูปตรงนี้นิด ตรงนั้นนานหน่อย ดังนั้นการไปเองหรือที่เรียกว่า backpack จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ฉันเน้นย้ำทุกการทำรีวิว (โดยเฉพาะรีวิวแบบละเอียดเช่นนี้) คือการวางแผนการท่องเที่ยว สำคัญมากกกกกกกกกกกสำหรับการไปเที่ยวด้วยตัวเอง คิดดูว่ามีเวลาแค่ 12 วัน จะไปชิวๆค่อยๆนึกไม่ได้ถ้าอยากจะไปเห็นสถานที่สำคัญๆเยอะๆและประหยัดเงินให้มากที่สุด ควรจะต้องทำการบ้านไปอย่างดี แถมบางทีฟ้าฝนไม่เป็นใจ เราก็สามารถคิดหาที่เที่ยวที่อยู่ในร่มได้ทันที

ตอนที่พี่ที่เคยไปตุรกีมาแล้วรู้ว่าฉันจะไป backpack เอง พี่เค้าถามทันที่ว่า “พวกแกจะไปกันยังไง มันใหญ่นะ” ตอนนั้นฉันมีความคิดว่าก็ไม่เห็นยาก ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเล ฉันยังไปเองมาแล้ว มาค้นพบทีหลังว่า ตุรกีนี่คนละเรื่องเลยนะ ระดับ advance พอสมควร เรียกได้ว่ากระโดดข้ามขั้นไปเยอะมาก จากปกติใช้เวลาทำแผนทุกวันหลังเลิกงาน จะเสร็จภายใน 1 อาทิตย์ อันนี้ 1 เดือน! นั่งค้นข้อมูลเพื่อทำแผน จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน(ภายในประเทศ) มันส์มาก (คิดแว๊บนึงเลยว่าอยากทำบริษัททัวร์) สำหรับคนที่หลงไปจองตั๋วเครื่องบินไปแล้วอย่าเพิ่งตกใจ การทำแผนมันไม่ได้ยากขนาดนั้น เรามาดูการทำแบบ step by step กัน

Step 1 ทำความรู้จักประเทศตุรกีและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ 

ขั้นตอนนี้ง่ายมาก แค่ Google ว่า Turkey top destinations ก็จะมากันตรึมจนโพรเซสแทบไม่ไหว ถ้าดูจากแผนที่ จะเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเยอะจริงๆ เส้นทางที่การท่องเที่ยวตุรกีแนะนำจะเป็นลักษณะวงกลมแบ่งเป็น 3 เส้นทาง สำหรับคนที่ไปครั้งแรกแนะนำเส้นทางแรก Western/Central Turkey Tour ซึ่งจะเป็นเส้นทางของเมืองที่ครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็น Highlight หลัก เช่น Istanbul, Cappadocia(เป็นชื่อภูมิภาค ใน Cappadocia จะแบ่งเป็นอีกหลายเมือง), Konya, Denizli, Izmir เป็นต้น

1406978757-culturaltu-o

Step 2 เลือกเมืองที่อยากไปและจัดสรรเวลาต่อเมืองให้เรียบร้อย

หลังจากอ่านรีวิว ดูรูป ของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆแล้ว ก็ได้เวลาตัดสินใจเลือกที่และเมืองที่เราอยากไป รวมทั้งพล็อตจุดในแผนที่ให้เรียบร้อย

รูปข้างล่างคือ final selection ของทริปนี้ที่ผ่านการคัดกรอง เลือกสรรมาเป็นอย่างดีแล้ว (เว่อร์มาก) สรุปว่าจะไปทั้งหมด 5 เมืองหลักๆด้วยกัน แรกๆเพื่อนๆอาจจะงงกับชื่อเมืองนิดหน่อย เพราะแหล่งข้อมูลบางที่ก็ใช้เป็นชื่อภูมิภาค เช่น Cappadocia หรือชื่อจังหวัด (ในที่นี้ฉันจะเรียกว่าเมืองแทนเพราะรื่นหูกว่า) เช่น Istanbul บางทีก็จะเป็นชื่อเมืองที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ เช่น Goreme, Selcuk

Source: http://turkeymap.facts.co/turkeymapof/turkeymap.php, http://www.archh.com/m/sara/projects/1652/hagia-sophia/, http://en.wikipedia.org/wiki/Ephesus, http://en.wikipedia.org/wiki/Pamukkale_University, https://speakingabouttravel2.wordpress.com/tag/cappadocia, http://muhammeddursun.com/palandoken.html

Source: http://turkeymap.facts.co/turkeymapof/turkeymap.php, http://www.archh.com/m/sara/projects/1652/hagia-sophia/, http://en.wikipedia.org/wiki/Ephesus, http://en.wikipedia.org/wiki/Pamukkale_University, https://speakingabouttravel2.wordpress.com/tag/cappadocia, http://muhammeddursun.com/palandoken.html

ณ  จุดนี้ ควรจะมี list ของเมืองพร้อมสถานที่ที่อยากไปในเมืองนั้นๆให้พร้อม ดังนั้นสิ่งที่เราจะรู้ตามมาด้วยคือเวลาคร่าวๆที่ควรใช้อยู่ในเมืองนั้นๆ เช่น Istanbul 3-4 วัน, Nevsehir(Goreme) 2 วัน, Denilizi(Pamukkale) 1 วัน เป็นต้น

Step 3 วางแผนเส้นทางและเลือกรูปแบบการเดินทาง

จุดๆนี้ค่อนข้างมีผลต่อแผนการท่องเที่ยวมากทีเดียว โดยเฉพาะคนที่เลือกเดินทางโดยเครื่องบิน เพราะเที่ยวบินในประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้มีกันทุกวัน  ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องวางแผนตรงส่วนนี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะไปจองโรงแรมเป็นลำดับถัดไป

วิธีการเดินทางในประเทศตุรกี หลักจะแบ่งเป็น 4 วิธี คือ

a. โดยรถทัวร์ เป็นวิธีที่แพร่หลายที่สุด เนื่องด้วยมีเส้นทางการเดินรถครอบคลุมทั้งประเทศ วันละหลายรอบ แถมยังมีผู้ให้บริการหลายเจ้าอีกตั้งหาก ปกติแล้วมักจะเป็นในรูปแบบ Overnight Bus คือไปนอนกันบนรถเลย ขึ้นรถประมาณ 2-3 ทุ่ม ตื่นเช้ามาถึงอีกเมืองพอดี เวลาการเดินทางขึ้นอยู่กับจากเมืองไหนไปเมืองไหน ถ้าใครเลือกจะไปวิธีนี้ไม่ยาก สามารถไปจองตั๋วล่วงหน้าซัก 2 ชั่วโมง ที่สถานีรถทัวร์ (Otogar) ที่มีอยู่ในแต่ละเมืองได้เลย

DSC02955

สำหรับฉัน ผู้มีประสบการณ์นั่งรถทัวร์ข้ามคืนในประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง(ตอนสตางค์ยังไม่มี ตอนนี้ก็ไม่มี 555) รู้ดีว่ามันทรมานแค่ไหน ยิ่งบวกอากาศที่หนาวจนถึงติดลบ ยิ่งจินตนาการได้ว่ามันจะหฤหรรษ์แน่นอน แม้จะประหยัดค่าโรงแรมไปได้หลายคืน แต่เพื่อประสิทธิภาพของการนอน ก็ขอบายวิธีนี้ดีกว่า

b. โดยรถไฟ เป็นวิธีที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง แต่อาจจะไม่มีเส้นทางครอบคลุมเท่ารถทัวร์ เส้นทางรถไฟที่น่าสนใจคือ Izmir – Denizli โดยจะมีรีวิวละเอียดในตอนต่อไป

DSC02259

c. โดยเครื่องบิน เป็นวิธีที่จ๊าบที่สุดเพราะมันเร็ว แต่อย่างที่บอกว่าเที่ยวบินมันไม่ได้มีกันทุกวัน เลยอาจจะทำให้แผนคุณเปลี่ยนกันได้ง่ายๆ สายการบินที่ให้บริการเส้นทางในประเทศหลักๆ คือ AnadoluJetAtlasjet,BorajetOnur AirPegasus Airlines,Seabird AirlinesSun ExpressTurkish Airlines คลิ๊กตามลิงค์ไปดูวันเวลาและเส้นทางการบินเล่นๆได้ ฉันจองตั๋วของ Pegasus Airlines และ Sun Express ตั๋วเครื่องบินตกอยู่ที่ประมาณคนละ 700-800 ต่อเที่ยวบิน (กรณีจองล่วงหน้า 5 เดือน) แถมน้ำหนักกระเป๋าอีกคนละ 15 กิโล ช่างคุ้มค่ายิ่งนัก

DSC03411

การเดินทางโดยเครื่องบินแตกต่างจากวิธีอื่นๆตรงที่ว่า สนามบินต่างๆมักไม่ได้อยู่ในตัวเมืองเหมือนสถานีรถทัวร์และสถานีรถไฟ ดังนั้นผู้ที่เลือกเดินทางโดยเส้นทางนี้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของการเดินทางจากสนามบินไปตัวเมืองหรือโรงแรมที่จองไว้

d. โดยรถยนต์ คือเช่าขับเอา วิธีนี้ไม่แนะนำเท่าไหร่นักเพราะเราไม่ชินเส้นทาง และน้ำมันที่ตุรกีค่อนข้างแพง (ประมาณ 80 บาทต่อลิตร) ถ้าเมืองอยู่ใกล้ๆกันก็โอเคอยู่ ถ้าใครสนใจก็ขออัญเชิญไปจองรถที่เว็บนี้ได้ www.economycarrentals.com สามารถเลือกได้ด้วยว่าให้มาส่งรถและมารับรถที่โรงแรม รวมถึงบริการพิเศษเช่น GPS, wifi ในรถ ฯลฯ หรือใครยังตัดสินใจไม่ได้ ไปเช่าเอาดาบหน้าที่สนามบินก็ได้

นั่นมันตัวอะไรอ่ะ

DSC05838

สำหรับใครที่เลือกวิธีนี้ อย่าลืมไปทำใบขับขี่สากลมาเน้อ 505 บาทถ้วน ไม่ต้องทดสอบอะไร ใช้ได้ 1 ปี (ขวาสุด)

20150211_000446

สรุปแล้วฉันใช้แทบจะทุกวิธีที่กล่าวมา ลองไปดูแผนสำเร็จกันดีกว่าว่าเป็นยังไงบ้าง

transportation method

Step 4 เลือกสถานที่สำคัญที่ต้องการไปในแต่ละเมือง

แต่ละเมืองจะมีสถานที่หรือกิจกรรมที่ดึงดูดให้เราอยากไป เช่น Cappadocia มีบอลลูน แต่ความจริงแล้วยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายแอบแฝงอยู่ในเมืองนั้นๆ บางเมือง เช่น Istanbul ก็มีสถานที่สำคัญให้เยี่ยมมากมายนับไม่ถ้วน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะหาข้อมูลและตัดสินใจไปล่วงหน้าว่าจะไปที่ไหนทำอะไรบ้าง คร่าวๆก็ยังดี เนื่องจากจะทำให้ประหยัดเวลาแล้วยังมีผลกับการประเมินค่าใช้จ่ายเพื่อแลกเงินด้วย หลังจากเลือกได้แล้ว 2 สิ่งที่ควรตรวจสอบไปล่วงหน้าคือ

a. Entrance Fee เพื่อประเมินค่าใช้จ่าย และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าควรไปหรือไม่ (แบบแพงเกินรับไหว)

b. Opening Hours เวลาเปิด-ปิด (หน้าหนาวมักจะปิดเร็วกว่าหน้าร้อน) โดยเฉพาะมัสยิดที่ส่วนใหญ่จะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเวลาทำละหมาด หรือบางสถานที่ เช่น Dolmabahçe Palace (Dolmabahçe Sarayı) ปิดทำการทุกวันจันทร์กับพฤหัส รู้แบบนี้จะได้สับขาหลอกได้ถูกเด้อ (เฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวใน Istanbul เว็บนี้ค่อนข้างตรงพอสมควร http://www.istanbultrails.com/2008/06/overview-of-closing-days-and-opening-hours-in-istanbul/)

4) จองโรงแรม…จะได้วิมานหรือแค่ที่ซุกหัวนอน

ค่าโรงแรมที่นี่ถือว่าถูกพอตัว แต่มีข้อแม้คือ ห้ามมมมม walk-in หาโรงแรมเอาดาบหน้าเด็ดขาด เพราะมันแพงบรรลัยมากๆ ประมาณ 4-5 เท่าของราคาที่เราจอง online ไปล่วงหน้า กรณี high season โรงแรมอาจจะเต็มได้ เว็บที่ใช้จองคือ agoda และ booking.com หรือจะติดต่อถามราคาจากโรงแรมโดยตรงก็ได้ ฉันทำทั้ง 3 แบบ เช็คว่าราคาที่ไหนถูกสุดก็จองจากที่นั่น สำหรับรีวิวสามารถเช็คได้ทั้งจาก agoda, booking.com และ tripadvisor เวลาจองควรจะดูทำเลด้วย พยายามจองให้อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวที่เราจะไป เปิด Google วัดระยะทางมันเลย หรืออีเมลไปถามโรงแรมก็ได้ว่าไปที่นี่ไปยังไง บางที่ข้อมูลค่อนข้างน้อย หาจน Google พรุนยังไม่เจอ แบบนี้ให้ถามโรงแรมจะดีที่สุด

เนื่องจากตุรกีเป็นเมืองมุสลิม จะค่อนข้างเคร่งในเรื่องของความสัมพันธ์ของชายหญิง ในกรณีที่ไปกับแฟน ควรจะดูข้อกำหนดของโรงแรมดีๆว่าอนุญาตให้ชายหญิงที่ยังไม่สมรสพักด้วยกันได้หรือไม่ ฉันเจอโรงแรมหนึ่งต้องเอาทะเบียนสมรสมายืนยัน อึ้งไปแปร๊บนึง

วิธีการจ่ายเงินมีได้ 2 รูปแบบ คือตัดบัตรกับจ่ายสด กรณีส่งอีเมลจองกับโรงแรมโดยตรงส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายสดโดยใช้สกุลเงินยูโร (EUR) บางโรงแรมก็เรียกเป็นเตอร์กิชลีร่า (TRY หรือ TL) ก็มี ซึ่งเราชอบแบบนี้เพราะอัตราแลกเปลี่ยนดีกว่า (เราแลกไปเอง) ถ้าจองผ่าน agoda ส่วนใหญ่จะเป็นการตัดบัตรโดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ทางโรงแรมตกลงกับเว็บไซต์ มีทั้งตัดบัตรทันที ตัดก่อนเข้าพัก 3 วัน 7 วัน ก็ว่ากันไป แบบนี้อัตราแลกเปลี่ยนมหาโหดมาก เห็นแล้วเซ็ง

เอาตารางราคาโรงแรมที่จ่ายไปทั้ง 6 ที่มาให้ดู เผื่อใครเอาไว้เป็นฐานในการจอง ทั้งหมดเป็นห้อง double พร้อมอาหารเช้า ยกเว้น Ibis Kayseri ที่ไม่มีอาหารเช้าให้ (ต้องซื้อเพิ่มอีก 20 TL)

ราคาโรงแรม

อย่าลืมปริ๊นท์หลักฐานการจองไปด้วย โดยเฉพาะที่คุยตรงกับโรงแรมแล้วมีเรื่องราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้ามา ปริ๊นท์แล้ว Highlight ไปเลย มีคนแนะนำว่าให้ลง application ของ Agoda และ Booking.com ไว้แล้วเปิดให้พนักงานดู ยังไม่เคยทำ คราวหน้าจะลองดู

5) ประเมินค่าใช้จ่ายเพื่อแลกเงิน…เกินดีกว่าขาด แต่เกินมากก็ขาดทุน

ค่าใช้จ่ายหลักๆที่ต้องคำนึงถึงมีดังนี้

a. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นสิ่งที่แพงสวนทางกับค่าที่พักอย่างรุนแรง ถ้าอยากกินแบบไม่แพงคือต้องเดินหาร้านที่ค่อนข้างห่างไกลกับสถานที่ท่องเที่ยวค่อนข้างมากซึ่งส่วนตัวพบว่าเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เพราะมันหิวอ่ะ 555 แล้วยังต้องเสียเวลาเดินหา เดินกลับมาเที่ยวในบริเวณเดิมต่อ โอยยย กินแพงก็ได้ฟะ ถือว่าฉันโดนค่ากินไปเยอะพอสมควร

สำหรับการคำนวณ สูตรง่ายๆคือ ค่าอาหารและเครื่องดื่มต่อมื้อ x จำนวนมื้อที่ต้องซื้อเอง (ปกติมื้อเช้าจะมีให้กินฟรีที่โรงแรม)

  •  Kebab/Sandwich/Hamburger : 4 – 7 TL หรือประมาณ 52 – 91 THB (คิดจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 TL = 13 THB)

DSC04462

  • อาหารที่เป็นจานหลัก มีข้าวเป็นส่วนประกอบ : 15 – 25 TL หรือประมาณ 195 – 325 THB

IMG_6424

  • น้ำเปล่า : สามารถหาซื้อได้ตั้งแต่ 0.25 – 3 TL แต่ราคาปกติจะอยู่ที่ 1 TL ต่อขวด หรือประมาณ 13 THB
  • ชาและน้ำอัดลม : ขึ้นชื่อมากโดยเฉพาะชาแอปเปิ้ล เครื่องดื่มประเภทนี้จะตกอยู่ที่ 2-4 TL หรือ 26 – 52 THB แล้วแต่ร้าน ถ้าไม่อยากเสียเงินชิมชาแอปเปิ้ลจริงๆขอให้อดทนไว้ รับรองว่าตลอดทริปจะต้องมีเจ้าบ้านใจดีเลี้ยงซักหน (แน่นอนว่าฉันอดทนไม่ได้ หมดไปหลายร้อยเหมือนกัน)

DSC04805

  • ขนม : อย่าลืมเผื่อเงินไว้ซื้อขนมขบเคี้ยวอื่นๆมาลองชิมเล่น มีได้ตั้งแต่ 1 – 10 TL แล้วแต่ของที่ซื้อ

DSC01995

  • fine dinning : มื้อหนึ่งตกอยู่ประมาณคนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท

DSC02945

ใครที่เดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองด้วยเครื่องบินอย่าลืมเผื่อเงินค่าอาหารไว้มากหน่อยสำหรับมื้อในสนามบิน เพราะมันแพงจริงๆนะเออ

b. ค่าเข้าสถานที่ต่างๆ (Entrance Fee) ให้ระวังว่าส่วนใหญ่ที่ไปหามาจากรีวิวเก่าๆ มันจะเป็นราคาเก่า แม้ปีสองปีก็จะมีการปรับขึ้นเรื่อยๆ ให้เผื่อใจและเผื่อเงินไปเลยว่าไปถึงจริงๆแพงกว่าที่หามาแน่ๆ

DSC01944

c. ค่าเดินทาง นอกจากค่าเครื่องบินที่จ่ายไปล่วงหน้า อย่าลืมว่าต้องมีค่ารถราง รถไฟ รถบัส รถตู้ เรี่ยร่ายปลายทาง จุกจิกมาก

d. ค่าโรงแรม ในส่วนของที่ต้องจ่ายสด ก่อนเริ่มทริปอย่าลืมดูว่าโรงแรมไหนตัดเงินไปแล้ว พกหลักฐานไปด้วย เผื่อโดนเรียกเก็บซ้ำ

e. ค่าของฝาก อดใจรอรีวิวแบบละเอียดได้ในตอนต่อๆไปนะจ้ะ

f. ติดเงินสดไปเผื่อฉุกเฉิน ใครไม่สะดวกก็พกบัตรเครดิตไปหรือจะไปกดเงินสดที่นั่นก็แล้วแต่สะดวก ต้องทำใจเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนนิดนึงเด้อ

สำหรับการแลกเงิน ให้แลกเป็นสกุลยูโร (EUR) หรือ US Dollar (USD) ไปก่อนแล้วค่อยไปแลกเป็นสกุลเงินท่องถิ่นเตอร์กิชลีร่า (TRY หรือ TL) ที่นั่น

ตัวอย่างวิธีการคิดอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้คณิตศาสตร์มัธยมต้นที่เคยเรียนมา (ได้ใช้ประโยชน์แล้วสินะ)

1 THB = 0.029 EUR, 1 EUR = 2.77 TRY
ดังนั้น 1 THB = 0.029 x 2.77 TRY หรือ 1 TRY = 1/(0.029 x 2.77) = 12.4 THB

1 THB = 0.030 USD, 1 USD = 2.64 TRY
ดังนั้น 1 THB = 0.030 x 2.64 TRY หรือ 1 TRY = 1/(0.030 x 2.64) = 12.6 THB

สรุปได้ว่าแลก EUR ไปคุ้มกว่า แต่ถ้าที่ไหนรับ EUR จงจ่าย EUR ไปจะได้กำไร เพราะตอนนี้ EUR กำลังถูกและประหยัดส่วนต่างการแลกเปลี่ยนเงิน

จากที่สำรวจมาต้องแลกที่ Grand Bazaar ถึงจะได้เรทดีที่สุดและไม่มีค่า commission ด้วย (เค้าจะเขียนไว้เลยว่า no commission)  พยายามแลกที่สนามบินเอาแค่พอเข้าเมืองแล้วมาแลกก้อนใหญ่ที่นี่เอา

ยาวมาก แต่คิดว่าหมดแล้วหรือ ฮะฮะฮ่า ยางงง ฉันยังเขียนได้เรื่อยๆ ไปจัดกระเป๋ากันใน post หน้านะฮ้าาาาาาาาา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*